ข้อดีการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)

การบำรุงรักษาด้วยตนเอง

เครื่องจักรเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการทำงานในหลายๆ ธุรกิจ การบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากๆ เพื่อให้เครื่องจักรทำงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน ทั้งนี้การบำรุงรักษาเครื่องจักรไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ผู้ควบคุมเครื่องจักรก็สามารถทำได้เอง ซึ่งในบทความนี้เราจะมาเรียนรู้ขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง ซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายๆ และมีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับเครื่องจักร

การทำงานในชีวิตประจำวันของทุกคน เราสามารถเห็นได้ว่าการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งการให้ความสำคัญกับเรื่องการบำรุงรักษานี้จะช่วยให้เครื่องมือของเราใช้งานได้อย่างยาวนาน ซึ่งในอุตสาหกรรมบางส่วนอาจไม่ให้ความเอาใจใส่ที่จะหาวิธีการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างถูกวิธี ทำให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง เครื่องจักรมีการหยุดระหว่างการทำงาน ทำให้เสียเวลาในการผลิตและเสียเวลาซ่อม เครื่องจักรที่ไม่ดีส่งผลโดยตรงทำให้คุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ออกมาไม่ดี 

การซ่อมบำรุงเครื่องจักรไม่เพียงแต่ต้องรอหน่วยงานแผนกซ่อมบำรุงเท่านั้น แต่พนักงานที่เกี่ยวข้องในการคุมเครื่องจักรก็มีส่วนในการช่วยบำรุงรักษา รวมถึงรู้อาการเสียต่างๆของเครื่องจักรเพื่อที่จะแก้ไขได้เบื้องต้น เพื่อลดความสูญเปล่าจากการหยุดทำงานของเครื่องจักรได้ 

การบำรุงรักษาด้วยตนเอง คืออะไร ?  (Autonomous Maintenance)

การบำรุงรักษาด้วยตนเองหมายถึงการทำความสะอาด และการตรวจเช็คประสิทธิภาพของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ตามมาตรฐาน สามารถวิเคราะห์ปัญหาอาการที่เกิดขึ้น และแก้ไขเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอให้มีการแจ้งเรียกซ่อม หากเทียบกับชีวิตประจำวันของเรา การหมั่นทำความสะอาดหรือการดูแลรักษาความสะอาดของสิ่งของทำให้ชีวิตของเราเป็นระเบียบเรียบร้อยมากขึ้น ในเชิงธุรกิจเช่นกัน การมีการบำรุงรักษาด้วยตนเองนั้นเป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้

การปฏิบัติการบำรุงรักษาด้วยตนเองมีขั้นตอนหลักสองขั้นตอน ด้วยความสำคัญในการทำความสะอาดและการตรวจสอบประสิทธิภาพ การทำความสะอาดเครื่องมือมีประโยชน์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดจากฝุ่น หรือเศษวัสดุใดๆ ที่มาเกาะติด เวลาทำความสะอาดทุกอย่างแล้ว เราจะสามารถสังเกตได้ว่าเครื่องมือหรืออุปกรณ์มีสภาพใช้งานได้ถึงไหน หากเราเจอปัญหาบางประการ เราก็สามารถแก้ไขได้ทันที ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขได้เอง ก็สามารถรายงานให้ทางเจ้าของอุปกรณ์หรือทางฝ่ายผลิตทราบเพื่อรับการช่วยเหลือได้

การกระจายความรับผิดชอบในการบำรุงรักษาด้วยตนเองให้กับทุกคนในองค์กรเป็นสิ่งที่สำคัญ ผ่านการฝึกอบรมที่เหมาะสม และการส่งเสริมให้ทุกคนมีการเข้าใจและใช้ความรู้ในการดูแลเครื่องจักร  และยังช่วยส่งเสริมให้การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productive Maintenance)  อีกด้วย 

ความสำคัญของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง  (Autonomous Maintenance)

ในส่วนการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเองนั้น ผู้คุมเครื่องจักรสามารถทำการตรวจสอบการใช้งานในแต่ละวันได้ การหล่อลื่นของเครื่องจักร การเปลี่ยนอะไหล่ และคอยสังเกตความผิดปกติของเครื่องจักร พร้อมทั้งตรวจสอบอุปกรณ์ทุกครั้งที่เปิดการใช้งาน ว่าชิ้นส่วนอุปกรณ์ครบหรือขาดไปส่วนไหน จะได้เกิดการแก้ไขได้ทันถ่วงที ความสำคัญของการบำรุงรักษาด้วยตนเอง มีดังนี้

          1. ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในส่วนของอะไหล่ ค่าจ้าง ในการซ่อมบำรุง 

          2. ส่งมอบสินค้าได้ทันเวลา ถ้าเครื่องจักรมีการบำรุงรักษาอย่างดี ไม่มีการขัดข้องของเครื่องจักรในระหว่างการผลิต ก็จะผลิตสินค้าออกมาได้ตามแผนที่ได้กำหนดไว้ ว่าวันนี้ต้องผลิตกี่หน่วย/ชั่วโมง

          3. เพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น เมื่อเครื่องจักรมีการทำงานอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีหยุดชงัก (Brake Down) ในระหว่างการผลิต ผลผลิตได้ตรงตามเป้าหมาย ราคาสินค้าต่อหน่วยก็จะลดลง

          4. มีความปลอดภัย ลดอุบัติเหตุในการทำงาน ถ้าธุรกิจมีระบบการซ่อมบำรุงที่ดี ความเสียหายขัดข้องของเครื่องจักรจะลดน้อยลง แนวโน้มอุบัติเหตุในการทำงานก็จะไม่เกิดขึ้น หรือลดลง 

          5. สินค้ามีคุณภาพดี เครื่องจักรและอุปกรณ์การผลิตทำงานได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพสม่ำเสมอ ไม่ติดขัดก็จะทำให้สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพที่ดี ตรงตามความต้องการ

ขั้นตอนการบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)

  1. การทำความสะอาดเบื้องต้นในความหมายของ TPM (การบำรุงรักษาทุกคนมีส่วนร่วม) ไม่ใช่เพียงการทำความสะอาดเท่านั้น แต่เป็นการตรวจสอบเพื่อหาความผิดปกติเครื่องจักร จุดที่เข้าไม่ถึงตรวจสอบได้ยาก และแหล่งความสกปรกที่เกิดขึ้น เพื่อฝึกทักษาให้ผู้ปฏิบัติงานมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการทำความสะอาด ไม่ได้เพียงแค่ทำการเช็ด แต่ต้องคิดว่าความสกปรกที่เกิดขึ้นมาจากที่ไหน และทำการติด Tag เพื่อเป็นการบ่งบอกว่าว่าจุดนั้นเป็นจุดที่พบความผิดปกติ และรอการแก้ไขอยู่ โดยการเริ่มจากการคิดว่าอะไรที่น่าจะเป็นสาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นได้บ้าง แล้วจึงพิสูจน์ว่าสาเหตุนั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ เช่น ไม่มีการหล่อลื่นใช่หรือไม่ การติดตั้งไม่ถูกต้องหรือเปล่า พร้อมทั้งถ่ายรูปของการแก้ไขไว้เป็นหลักฐานหรือภาพก่อนทำหลังทำ แล้วหาทางป้องกันปัญหานั้นไม่ให้กลับมาเกิดอีก
  2. กำจัดแหล่งที่ก่อให้เกิดสิ่งสกปรก วิธีการแก้ไขที่มาของสิ่งสกปรกหลังจากที่ทำความสะอาดแล้ว ต้องทำการหาที่มาของความสกปรกให้เจอเพื่อที่จะได้ลดเวลาในการทำความสะอาด เมื่อเราพบเจอแหล่งสิ่งสกปรกแล้ว เราจะได้เข้าไปทำความสะอาดได้ตรงจุด 
  3. สร้างมาตรฐานการทำความสะอาด การมีมาตรฐานการทำความสะอาดหลังจากที่ทำการแก้ไขแหล่งที่มาของความสกปรกแล้ว ต้องหาทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดสาเหตุนั้นขึ้นอีก โดยการจัดทำมาตรฐานในการตรวจสอบเครื่องจักร ตามที่องค์กรได้กำหนดไว้ เป็นการฝึกให้ผู้ปฏิบัติงานได้รู้จักการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น มากกว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมาแล้ว 
  4. การตรวจสอบประสิทธิภาพเครื่องจักร เป็นการตรวจสอบโดยรวมเป็นการให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงาน โดยเฉพาะความรู้ทางวิศวกรรมพื้นฐาน ฝึกให้ผู้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้สิ่งใหม่ และนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการทำงาน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
  5. ตรวจสอบกระบวนการผลิต เป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะเป็นการที่ผู้ปฏิบัติต้องรู้ในการใช้งานเครื่องจักรนั้นโดยเฉพาะ ทำการปรับมาตรฐาน การบำรุงรักษาให้มีความแม่นยำมากขึ้น 
  6. การดำเนินการ เป็นสิ่งที่สำคัญในขั้นตอนนี้ จะมีเครื่องมือในการดำเนินการที่แตกต่างกันออกๆป เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ฝึกการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน ด้วยวิธีนี้เอง การบำรุงรักษาด้วยตนเองนั้น เป็นการฝึกให้ผู้ปฏิบัติงานรู้จักการวิเคราะห์ หาสาเหตุ และแก้ไขเครื่องจักรได้ด้วยตนเอง รักษาเครื่องจักรให้สามารถใช้งานในระยะยาวในอนาคต  
  7. การบันทึกและประเมินผล    ในส่วนของขั้นตอนนี้เป็นการบันทึกผลการทำงานของเครื่องจักร ว่าทำงานได้มีประสิทธิภาพมากน้อยขนาดไหน การทำงานของเครื่องจักรมีความช้าลงหรือไม่ การบันทึกผลนี้จะทำให้รู้ถึงความผิดปกติของเครื่องจักร จากนั้นก็จะมีการประเมินผลว่าควรดำเนินการอย่างไรต่อไป     

ประโยชน์ของการบำรุงรักษาเครื่องจักร

  1. เครื่องจักรมีความน่าเชื่อถือ  (Reliability) คือ เครื่องจักรที่ใช้มีมาตรฐานจะทำให้การผลิตมีความแม่นยำสูง ไม่เกิดการคลาดเคลื่อนในการผลิต 
  2. เครื่องจักรทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล (Effectiveness) คือ การใช้เครื่องจักรเต็มขีดความสามารถและตรงกับวัตถุประสงค์ในการทำงานมากที่สุด 
  3. เครื่องจักรมีสมรรถนะการทำงานสูง (Performance) สามารถช่วยให้เครื่องจักรมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เพราะการใช้เครื่องจักรจะเกิดการเสื่อมตามระยะเวลาการใช้งาน ถ้าไม่มีการซ่อมบำรุงและปล่อยไว้ เครื่องจักรจะเกิดการชำรุดเสียหาย อาจจะเกิดการใช้งานไม่ได้ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องจักรใหม่ 
  4. ความปลอดภัยต่อการใช้งาน (Safety) นับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการทำงานกับเครื่องจักรเพราะจะต้องมีความปลอดภัยต่อผู้คุมเครื่อง ถ้าเกิดการผิดพลาดที่มาจากเครื่องจักรก็อาจจะเป็นอันตราย ทำให้บาดเจ็บต่อผู้ใช้งาน ถ้ามีการบำรุงรักษาที่ดีจะช่วยลดความผิดพลาดนี้
  5. ลดมลภาวะต่างๆ การใช้เครื่องจักรที่เก่า และเสื่อมสภาพ ไม่มีการบำรุงรักษาเลย จะทำให้เกิดมลภาวะไม่ดีในการทำงาน เช่น มีฝุ่นละออง หรือการรั่วของสารเคมี มีการหลุดของชิ้นส่วนอะไหล่ ทำให้เกิดเสียงในเครื่องจักรอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ที่ทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง

Autonomous Maintenance และ Total Productive Maintenance ต่างกันอย่างไร 

  • Autonomous Maintenance (การบำรุงรักษาด้วยตนเอง)

Autonomous Maintenance หรือการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง เป็นหนทางที่ช่วยให้สามารถลดเวลาในการผลิต ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง และเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการผลิต การที่มีระบบ Autonomous Maintenance ในองค์กรสามารถช่วยให้การบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นไปอย่างตามขอบเขตโดยที่ช่างไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาทุกขั้นตอน นอกจากระบบการบำรุงรักษานี้สามารถตรวจสอบสภาพเครื่องจักรโดยอัตโนมัติ ปรับปรุง และรายงานปัญหาให้กับผู้ดูแลระบบได้อย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เข้ามามีส่วนถึงการผลิตอุตสาหกรรมในปัจจุบันการนำระบบ Autonomous Maintenance มาใช้ในองค์กรเราจะสามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถยืดระยะเวลาการใช้งานได้อย่างยาวนาน 

  • Total Productive Maintenance (การบำรุงรักษาทวีผลทุกคนมีส่วนร่วม)

กระบวนการที่ให้พนักงานทุกคนๆ ในองค์กรได้มีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาอุปกรณ์เครื่องจักรแบบทวีผลในกระบวนการผลิต ทุกคนในองค์กรจะมีส่วนร่วมในทุกฝ่าย โดยการทำให้เครื่องจักรกลมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด ไม่เกิดการความเสียหายระหว่างการทำงาน  ตอบสนองความต้องการผลิตของโรงงานได้อย่างสูงสุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กรพร้อมกับเทคนิคการบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance) และการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) ได้แก่

สรุป

การบำรุงรักษาเครื่องจักรเป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องและเพื่อให้เครื่องจักรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การทำความเข้าใจและปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญ ือย่างไรก็ตามไม่ว่าจะทำการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตัวเองหรือขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ ควรจะทำการตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยาวนาน

ที่มาข้อมูล : Autonomous Maintenance , การบำรุงรักษา 

Scroll to Top