นวัตกรรมระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ

นวัตกรรมระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ (LCA)

” ระบบอัตโนมัติ ต้นทุนต่ำ” หรือที่เราเรียกว่า “Low cost Automation” เป็นแนวคิดในการนำเอาเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีต้นทุนต่ำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งประเทศญี่ปุ่นได้คิดค้นแนวคิดและเทคนิคที่เรียกว่า karakuri kaizen ที่ใช้แรงโน้มถ่วงเพื่อให้เกิดพลังงานจลน์แทนการใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นการประหยัดต้นทุนผสานกับความรู้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตตามแนวทางของลีนมาช่วยเหลือพนักงานในกระบวนการของการผลิต

หากเราพูดถึงเรื่องของ “ระบบอัตโนมัติ ต้นทุนต่ำ” ในปัจจุบันเริ่มมีการนำระบบเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมมากขึ้น เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและสามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นได้ แต่กว่าจะสร้างระบบอัตโนมัติขึ้นมาได้นั้นก่อนอื่นผู้ใช้งานต้องมีทักษะ ความรู้ความเข้าใจในกระบวนการของการลดต้นทุนด้านการผลิตและการนำเทคโนโลยีมาใช้เสียก่อน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดเป็นความสูญเปล่า และเพิ่มค่าใช้จ่ายโดยสิ้นเปลือง

Article-LCA1

แนวคิด Low cost Automation

ต้องขอเล่าก่อนว่า “ระบบอัตโนมัติ ต้นทุนต่ำ” มาจากการพัฒนาแนวคิดและเทคนิคที่เรียกว่า “Karakuri Kaizen” จากประเทศญี่ปุ่น โดยการประดิษฐ์อุปกรณ์อัตโนมัติชนิดต่างๆ ที่มีกลไกลตามหลักกลศาสตร์เช่น สปริง เฟือง คาน คานงัด ล้อ เพลา ผสานกับหลักการทางธรรมชาติเพื่อกำจัด Muda Muri และ Mura

ซึ่งการนำแนวคิด Low Cost Automation (LCA) มาประยุกต์ใช้ในระบบการผลิตอุตสาหกรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่มากขึ้น จึงทำให้ระบบอัตโนมัติและโรงงานที่ไม่ใช้แรงงานคนมีจำนวนสูงขึ้น โดยเฉพาะในส่วนงานที่เครื่องจักรกลสามารถทำได้ดีกว่าคน หรืองานที่ต้องเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย อุบัติเหตุ เพื่อให้เกิดคุณภาพการผลิตที่ดีขึ้นและต้นทุนในการผลิตลดลง โดยต้องอาศัยการพัฒนาระบบและเครื่องจักรให้เหมาะสม 

“Automation, or Labor-saving technology is the technology by which a process or procedure is performed with minimal human assistance.”

“ระบบอัตโนมัติ หรือเทคโนโลยีประหยัดแรงงานคือ การนำเทคโนโลยีผสมผสานกับกระบวนการผลิตมาใช้โดยลดการใช้แรงงานมนุษย์ให้น้อยที่สุด”

อาจกล่าวได้ว่าระบบอัต โนมัติต้นทุนต่ำ เป็นตัวกลางที่ช่วยทั้งลดและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้งานของเครื่องจักรที่มีระบบการควบคุมที่ซับซ้อน มีราคาต้นทุนสูงต้องหางบในการลงทุน ซึ่งหากเกิดการขัดข้องก็จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี อะไหล่ชิ้นส่วนพิเศษ หรือผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงมาจัดการ ทำให้เสียเวลาในการผลิต หรือเพิ่มจำนวนการผลิตที่มากขึ้นควบคู่ไปกับประสิทธิภาพของงาน และความน่าเชื่อถือของตัวผลิตภัณฑ์และธุรกิจด้วย

ทักษะที่จำเป็นเพื่อสร้าง Low cost Automation

ก่อนจะเกิดระบบหรือกระบวนการการผลิต แน่นอนว่าทักษะความรู้ เป็นอีกสึ่งที่ขาดไม่ได้ วันนี้เราจะมาแนะนำทักษะที่จำเป็นต้องรู้ ก่อนการสร้างระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ ว่าแนวคิดด้านไหนบ้าง ที่ผู้ผลิตจำเป็นต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจเสียก่อน โดยทางสถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพลได้ให้ความสำคัญกับทักษะเหล่านี้

Lean Manufacturing ทักษะความรู้ที่ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิตตามแนวทางของลีน ออกแบบระบบอัตโนมัติ เพื่อให้เกิดความเสถียรและลดเวลาการผลิต  โดยการใช้กรอบแนวคิด Lean Thinking ผสานกับ การปรับปรุงอย่างรวดเร็วในแบบ Kaizen เพื่อค้นหาความสูญเปล่า

Karakuri KAIZEN การใช้หลักการออกแบบด้วยระบบ Karakuri โดยใช้หลักการกลศาสตร์ เฟือง สปริง คาน คานงัด ล้อ เพลา ที่ใช้แรงโน้มถ่วงเพื่อให้เกิดพลังงานจลน์แทนการใช้พลังงานไฟฟ้า  เป็นการประหยัดต้นทุน

Low Cost Automation Design เกิดความเข้าใจในกระบวนการออกแบบระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ และการออกแบบโมดูลอัตโนมัติที่ใช้ได้ในหลากหลายกระบวนการผลิต

Mechanism Unit for Motion Task สร้างความเข้าใจในกลไกของระบบการเคลื่อนที่แบบหมุนและเส้นตรง รวมถึงการใช้ระบบลม (Pneumatic) และ ระบบไฟฟ้า (Electric) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Sensor and Controller สร้างความเข้าใจในระบบเซนเซอร์แบบดิจิทัล (Digital) และอนาล็อก (Analog) รวมถึงการเลือกใช้ระบบควบคุมประเภทต่างๆได้อย่างถูกต้อง

แนะนำสำหรับผู้ที่สนใจ เพิ่มทักษะความรู้ด้านการออกแบบกระบวนการอัตโนมัติ เราขอแนะนำหลักสูตร Low Cost Automation (LCA) ที่มุ่งเน้นให้ผู้เข้าฝึกอบรมมีทักษะในหลักการ Lean Manufacturing  ผสมผสานกับความรู้ด้าน Karakuri และเสริมสร้างความเข้าใจการออกแบบระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำ (Low Cost Automation Design) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง The Association for Overseas Technical Cooperation and Sustainable Partnerships (AOTS), Japan และสถาบันเทคโนโลยีการผลิตสุมิพล (SIMTEC) โดยการสนับสนุนของ Ministry of Economy, Trade, and Industry (METI), Japan   

เหตุผลที่ควรใช้การผลิตแบบอัตโนมัติ

  1. ระบบอัตโนมัติสามารถใช้แทนแรงงานที่มีทักษะได้  จากการสำรวจบริษัทส่วนใหญ่ใช้เวลามากในการค้นหาบุคคลที่มีทักษะเพิ่มเติมตำแหน่งในบริษัท หากนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการผลิตก็จะสามารถช่วยแก้ปัญหาเรื่องการใช้แรงงานที่มีทักษะได้ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ
  2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่ายของแรงงาน  กล่าวคือการลดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในส่วนของแรงงานในส่วนล่วงเวลา เช่น ค่าจ้าง ค่าชดเชยการทำงาน เป็นต้น และการใช้ระบบอัตโนมัติสามารถช่วยการทำงานของมนุษย์ได้ 24 ชั่วโมง เพื่อปรับปรุงด้านความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงาน เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรม เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุขณะปฎิบัติงาน หากใช้เครื่องจักร ก็จะสามารถลดเรื่องอุบัติเหตุระหว่างการปฏิบัติงานได้
  3. เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และระยะเวลาในการผลิต เนื่องจากเป็นการใช้เครื่องจักรกลช่วยทำงานกับมนุษย์ดังนั้นคุณภาพ และประสิทธิภาพของชิ้นงานจะเป็นมาตรฐาน ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบ 
  4. เพื่อกระบวนการผลิตที่บางครั้งไม่สามารถทำงานด้วยมือให้เกิดขึ้นได้ เช่น ต้องการความแม่นยำสูง ชิ้นส่วนมีขนาดเล็กมาก ๆ อย่าง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ก็จำเป็นต้องใช้ระบบอัตโนมัติในการผลิต เป็นต้น 

จากข้อมูลโดยสรุปข้างต้น จะเห็นได้ว่าการนำระบบอัตโนมัติเข้ามามีบทบาทในสายการผลิตของอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการทำงาน ลดความสูญเปล่าที่ก่อให้เกิด ลดความผิดพลาดในการทำงาน และยังเพิ่มคุณภาพของชิ้นงานที่ผลิตได้หล่ายเท่าตัวอีกด้วย

สรุป

แนวทางการนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ต้นทุนต่ำมาประยุกต์ใช้ (Low Cost Automation) ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรม นับได้ว่าเป็นสิ่งที่ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัว ซึ่งทักษะความรู้ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบกระบวนการอัตโนมัติต้นทุนต่ำคือการนำหลักการของ Lean มาพัฒนาให้เกิดความเสถียรในกระบวนการผลิตซึ่งควบคู่ไปกับความรู้ด้าน Karakuri Kaizen การใช้แรงโน้มถ่วงเพื่อให้เกิดพลังงานจลน์แทนการใช้พลังงานไฟฟ้า มาออกแบบระบบอัตโนมัติต้นทุนต่ำให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนค่าใช้จ่าย

E-book เตรียมความพร้อม

ก่อนทำ Automation และ IoT

ไขข้อควรรู้ !

ก่อนทำ Automation และ IoT

เพื่อให้โรงงานของคุณ ได้รับ

ระบบอัตโนมัติที่ดี และเหมาะสมที่สุด

 

Scroll to Top