“ROBOT VISION MEASUREMENT” ตัวช่วยการควบคุมคุณภาพการผลิตในอนาคต

“Robot Vision Measurement” ตัวช่วยการควบคุมคุณภาพโรงงานในอนาคต

หากเราพูดถึงระบบควบคุมคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรม แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ผู้ปฏิบัติงานและอุตสาหกรรมให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อรักษาคุณภาพในการผลิต และความน่าเชื่อถือในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ในโดยการนำเทคโนโลยีและระบบต่าง ๆ เข้ามาช่วยจัดการให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น และไม่ได้แค่เพิ่มมูลค่าให้กับงาน แต่เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าและยืนยันคุณภาพของชิ้นงานในการผลิต ระบบควบคุมคุณภาพ จึงเป็นกระบวนการหนึ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับโรงงานที่ต้องรักษาคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี

สำหรับปัญหาการตรวจสอบคุณภาพในโรงงานปัจจุบันจะเห็นได้ว่า การนำระบบและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา เป็นเรื่องที่ทวีความสำคัญยิ่งขึ้น สำหรับ“การวัด”นั้นได้มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพให้มีความแม่นยำมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงการรับส่งข้อมูลการตรวจสอบจากสถานีวัดไปยังส่วนกลาง  เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลมีประสิทธิภาพ และหากยิ่งมีประสิทธิภาพหรือความแม่นยำมากขึ้นเท่าไหร่ ความถูกต้องของชิ้นงาน คุณภาพการผลิต ความน่าเชื่อถือของสินค้า ก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น  เพราะเหตุนี้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการพัฒนาด้านการวัดและการตรวจสอบด้วยระบบควบคุมคุณภาพของชิ้นงานในการผลิต โดยการนำเทคโนโลยีและระบบต่าง ๆ เข้ามาช่วย เพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ 

เทคโนโลยีการวัดอัตโนมัติในปัจจุบัน

การพัฒนาไปอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ทำให้ผู้ผลิตหันมาสนใจกระบวนการลดความผิดพลาดในการผลิตชิ้นงานมากขึ้น ด้วยการแข่งขันในด้านของต้นทุน คุณภาพของสินค้าที่ต้องการความเที่ยงตรง และความพยายามในการลดการใช้แรงงานคนในกระบวนการผลิต จึงทำให้หลายอุตสาหกรรม มีการปรับตัว ด้วยการนำเทคโนโลยีการวัดและการควบคุมคุณภาพการผลิต ซึ่งการนำระะบบ Vision Systems มาปรับใช้ ช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือในการควบคุมการผลิต

  • ระบบ Vision Systems –  เป็นการอาศัยเซ็นเซอร์ที่อยู่ภายในกล้องดิจิทัลอุตสาหกรรม ด้วยเลนส์เฉพาะทางเพื่อให้ได้ภาพ จากนั้นส่งสัญญาณไปยังฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์เพื่อวัดผล ประมวลผล วิเคราะห์ และวัดผลลักษณะเฉพาะต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจ

ปัญหาที่พบเจอบ่อยในระบบควบคุมคุณภาพแบบเดิม

  1.  จำนวนคนที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของงาน ในการวัดชิ้นงานแต่แต่ละชิ้น ต้องวัดในแต่ละมิติทั้งความกว้าง ยาว สูง ซึ่งมีการวัดหลากหลายขั้นตอน ทำให้ต้องใช้คนจำนวนมากในการตรวจสอบคุณภาพ
  2.  ความเร็วที่ใช้ในการตรวจสอบ  ระบบการตรวจสอบคุณภาพแบบเดิม ต้องทำงานหลายขั้นตอน จึงทำให้ใช้ระยะเวลามากในการตรวจสอบ
  3. ความผิดพลาดทางการวัดของคน (Human Error) ซึ่งเกิดจากความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากผู้วัด ทั้งความผิดพลาดในการคำนวณผล การอ่านค่า รวมไปถึงการบันทึกค่า ทำให้การวัดอาจไม่ได้คุณภาพตามต้องการ

ระบบ Robot Vision Measurement System ตัวช่วยการควบคุมคุณภาพให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ระบบ Vision Measuring พัฒนาการตรวจสอบคุณภาพการผลิต

“ระบบวิชั่น” ออกแบบมาเพื่อพัฒนาระบบการตรวจสอบคุณภาพการผลิต ความผิดพลาดในการผลิต ที่ให้ความแม่นยำมากกว่าการตรวจสอบจากมนุษย์ ช่วยควบคุมคุณภาพได้อย่างสม่ำเสมอ และความผิดพลาดที่เกิดจากกระบวนการผลิต โดยหลักการสำคัญในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพการผลิตจากการการวัดด้วยระบบอัตโนมัตินั้น คือการนำภาพที่ตรวจจับได้มาประมวลผลเพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร จากนั้นก็มีการแสดงผลออกมาตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้งานกำหนด

การทำงานของ Robotic Vision System

สำหรับการออกแบบเครื่อง Robotic Vision System นั้น ทำได้โดยใช้การนำเอาเซ็นเซอร์กล้องดิจิทัลอุตสาหกรรมมาต่อเข้ากับแขนของหุ่นยนต์ ผู้ปฏิบัติงานสามารถควบคุมการทำงานผ่านมุมมองของกล้องบนหุ่นยนต์ ซึ่งก่อนการใช้งาน จะมีการติดตั้งโปรแกรมและสอนให้หุ่นยนต์เรียนรู้ที่จะตอบโต้กับวัตถุการนำไปใช้งาน เมื่อปรับโปรแกรมเสร็จสิ้น หุ่นยนต์ห็จะทำการตรวจสอบ ติดตาม และเก็บข้อมูลของทุกขั้นตอนการผลิต โดยผู้ปฏิบัติงานสามารถแก้ไขและเป็นตัวช่วยให้การทำงานในอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ยกตัวอย่าง การทำงานของเครื่อง  Robot Vision Measurement System ของสุมิพลฯ ที่ออกแบบโดยใช้หุ่นยนต์ในการหยิบและวางชิ้นงานแทนคน ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว และพนักงานยังสามารถไปทำงานในกระบวนการอื่นแทนได้

ซึ่งในกระบวนการวัดข้างต้น มีจุดที่จะทำการวัดทั้งหมด 8 จุด โดยปกติแล้วจะใช้เครื่องมือวัดตามจุดต่าง ๆ ทำกระบวนการนั้นต่อ ๆ กันเป็นลำดับ แต่สุมิพล ฯ ใช้เทคโนโลยีกล้องของ Omron ที่การถ่ายภาพ 1 Shot สามารถวัดได้ทั้งหมด 7 จุด ในการช่วยวัดแทนกระบวนการแบบเดิม จึงทำให้สามารถทำงานได้ไวกว่าการวัดด้วยคนเป็นอย่างมาก

เทคโนโลยีกล้อง Vision เข้ามาตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาความผิดพลาดทางการวัดที่เกิดจากคน (Human Error) โดยการใช้เครื่องมือวัดแบบเดิมจะเป็นการวัดแบบสัมผัส ซึ่งอาจทำให้วัสดุเกิดการผิดรูปได้ เนื่องจากแรงกดที่เข้ามากระทำ ส่วนตัวกล้อง Vision เป็นการวัดแบบไม่สัมผัส จึงทำให้ได้ค่าที่เที่ยงตรง แม่นยำมากกว่า และในการหยิบชิ้นงานเข้าไปวางในจุดวัด หุ่นยนต์ก็มีความสามารถในการทำซ้ำได้ดีกว่าคนเช่นกัน

ลดความผิดพลาดจากการบันทึก และส่งข้อมูลอัตโนมัติ

โดยปกติพนักงานจะใช้การวัดด้วยเครื่องมือและจดลงในกระดาษ ทำให้ในบางกรณีมีการสูญหายหรือตกหล่นของข้อมูล แต่ระบบนี้สามารถแก้ปัญหาจุดนี้ได้ ด้วยการนำ เทคโนโลยี IoT เข้ามาปรับใช้ โดยเทคโนโลยีนี้ เป็น Know-how จาก Denso ซึ่งจะช่วยในการนำข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องจักร มาบันทึกลง Database และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ตลอด

นอกจากนี้เทคโนโลยี IoT จาก Denso ยังสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยกราฟรูปแบบต่าง ๆ เพื่อควบคุมกระบวนการผลิตให้ดีอยู่เสมอ ไม่เกิดชิ้นงานที่ผิดผลาดได้อีกด้วย

ประโยชน์ของ Robot Vision Measurement System

สำหรับประโยชน์ของการนำ Robot Vision Measurement System มาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพการผลิตในอุตสาหกรรม นั้น มีอยู่หลัก ๆ ด้วยกัน 5 ข้อหลัก ๆ ที่ผู้เขียนสนใจ

  1. สามารถตรวจสอบการทำงานได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังดูการทำงานได้แบบ Real-time และสามารถตรวจสอบย้อนหลังหลังจากการทำระบบ IoT ซึ่งจะทำให้เห็นจุดดี จุดด้อยในการทำงาน และปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว 
  2. สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ต่อยอดได้ด้วยการทำงานที่อิงข้อมูลจาก Data เป็นหลัก ทำให้โรงงานสามารถคำนวณปริมาณการผลิตการสั่งซื้อ รวมถึงการส่งสินค้าไปหาลูกค้า ช่วยลดการจำกัดปริมาณของเสียที่ส่งผลดีทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย
  3. เพิ่มความรวดเร็วและความแม่นยำในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้นด้วยหุ่นยนต์ที่เข้ามาดูแลการผลิตโดยเฉพาะงานที่มีความซับซ้อน หรืองานละเอียดที่ต้องใช้ความเร็วสูงซึ่งหุ่นยนต์จะมีความสามารถในการทำงานประเถทนี้ได้ดีกว่ามนุษย์ทั่วไป
  4. สามารถควบคุมการทำงานระยะไกลได้ ด้วยการเชื่อมต่อระบบปฎิบัติการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ที่ควบคุมเครื่องจักรในอุตสาหกรรม ทำงานจากที่ไหนก็ได้และตรวจสอบการทำงานจากที่ไหนก็ได้ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
  5. ความปลอดภัยในการเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งนอกจากระบบการผลิตแล้ว ระบบ Security และระบบควบคุมคุณภาพเองก็มีการเก็บข้อมูลเช่นกัน ทำให้สามารถประเมินความเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงการระบุข้อควรระวังในการทำงานได้มากกว่าการทำงานปกติ

การนำระบบการวัดอัตโนมัติมาใช้ในกระบวนการผลิต ดีอย่างไร?

ทคโนโลยีที่จะช่วยในกระบวนการผลิต ให้เกิดประสิทธิภาพ คือการนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดความแม่นยำในการตรวจสอบขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเอาระบบการวัดมาใช้ร่วมกับระบบอัตโนมัติ หัวใจสำคัญของการนำระบบการวัดอัตโนมัติและการควบคุมคุณภาพคือ การใช้งานที่ง่ายมีความหลากหลาย และมีความแม่นยำสูง  จึงเป็นที่น่าจับตาว่าภายในเวลาอันใกล้นี้ยังมีนวัตกรรมใหม่ใด ที่นำการวัดอัตโนมัติและระบบควบคุมคุณภาพให้สามารถไปต่อได้อีกขั้น

  1. การแก้ปัญหาในกระบวนการวัดด้วยระบบอัตโนมัติ
  2. การวัดงานด้วยเครื่องมือแบบดิจิทัล เพื่อลดความผิดพลาดและเวลาในการวัด
  3. ออกแบบการวัดด้วยระบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวัดงาน

แนะนำหลักสูตร

สำหรับผู้ที่สนใจ เพิ่มทักษะความรู้ในด้านการวางกลยุทธ์นำเครื่องมือวัดและระบบอัตโนมัติมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในไลน์การผลิต เราขอแนะนำ หลักสูตร Smart Measurement Technology ที่มุ่งเน้นหลักการของกระบวนการผลิตแบบ Lean สำหรับกระบวนการควบคุมคุณภาพ เรียนรู้การปรับเปลี่ยนกระบวนการหรือวิธีการทำงาน ที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลใช้งานร่วมกับเครื่องมือวัด การวางแผนกลยุทธ์และการจัดการระบบการวัดงานในสายการผลิต รวมไปถึงความรู้ด้านระบบควบคุมอัตโนมัติ เพื่อประยุกต์การวัดงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สรุป

แม้ว่าอุปกรณ์ในการวัดชิ้นงานปัจจุบัน จะมีความแม่นยำสูงก็ตาม แต่บางส่วนเมื่อมีการใช้เครื่องมือไปในระยะเวลาหนึ่ง จะมีการแสดงค่าความคลาดเคลื่อนออกมา ทำให้แนวโน้มในอนาคตจำเป็นที่จะต้องสร้างเครื่องมือวัดที่สามารถใช้งานได้ในระยะยาวและมีอะไหล่ที่สามารถเปลี่ยนได้ด้วยตนเองเพื่อการทำงานที่ราบรื่น จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคตโรงงานอุตสาหกรรมจะให้คุณค่ากับการวัดและการควบคุมคุณภาพมากขึ้น ยกระดับให้เป็นมาตรฐานและยังช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากความผิดพลาดของโรงงานอุตสาหกรรมในระยะยาวด้วยราคาและคุณภาพที่คุ้มค่า

Scroll to Top