กระบวนการผลิตสมัยใหม่ เป็นการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยนำระบบ Automation มาประยุกต์ใช้ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดเวลาในการทำงาน (Downtime) อีกทั้งยังสามารถแสดงผลการทำงานได้อย่าง Real-Time ซึ่งช่วยในการลดความสูญเปล่าในการผลิต ซึ่งปัจจุบันหลาย ๆ อุตสาหกรรมได้มีการนำมาปรับใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด
การที่โรงงานและผู้ประกอบการจะพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ปัจจุบันทำได้โดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทำงานร่วมกับเครื่องจักรในกระบวนการผลิต ซึ่งนับเป็นความท้าทายใหม่ในอุตสาหกรรมการผลิต
“กระบวนการผลิตสมัยใหม่” คืออะไร
กระบวนการผลิตสมัยใหม่ เป็นผลที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานเพื่อลดต้นทุน ก่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยปัจจุบันกระบวนการผลิตสมัยใหม่เน้นไปที่การนำระบบ Automation เข้ามาประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรกล นอกเหนือจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีและระบบอื่น ๆ เช่น ระบบ IoT ที่สามารถรองรับการปรับเปลี่ยนการผลิตในรูปแบบใหม่ได้การนำแพลตฟอร์ม IDA (Industrial IoT and Data Analytics Platform) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากจากอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) โดยตรวจจับสัญญาณต่าง ๆ จากเครื่องจักรกล ทำให้ทราบสถานะการทำงานของเครื่องจักรกล นำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลแบบ Real-Time ที่ช่วยให้สามารถบริหารจัดการการผลิต ลดต้นทุนและบำรุงรักษาเครื่องจักรในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ระบบ Automation กับการผลิตสมัยใหม่ยุค 4.0 ทำงานร่วมกันอย่างไร
ดีเทคโนโลยี Automation เป็นการควบคุมเครื่องจักรกลและการทำงานที่เกี่ยวข้องผ่านระบบอัตโนมัติ ทำให้สามารถคาดการณ์และวางแผนการซ่อมบำรุง สามารถลดเวลา (Downtime) ทั้งยังสามารถเจาะลึกถึงการทำงานได้อย่างทั่วถึง ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงาน การแสดงค่าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการทำงานแบบ Real-Time ในระยะยาว สามารถลดค่าใช้จ่ายและคืนทุนได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับแรงงานมนุษย์ การลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมนี้ สามารถลดอุบัติเหตุ ลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต อีกทั้งยังสามารถควบคุมปัจจัยในการผลิตได้ดี แก้ไขจัดการกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสมและทันท่วงที
ข้อได้เปรียบของการออกแบบระบบ Automation สำหรับการผลิตในยุค 4.0
- ช่วยให้เครื่องจักรทำงานได้อย่างเป็นระบบเต็มประสิทธิภาพ มีความแม่นยำมากขึ้น
- ช่วยลดต้นทุนในการผลิต ทั้งต้นทุนแรงงานมนุษย์และต้นทุนทรัพยากรที่อาจเกิดความสิ้นเปลืองจากความไม่แม่นยำในการผลิตได้
- เพิ่มกำลังการผลิตได้มากขึ้น เนื่องจากระบบสามารถทำงานได้อย่างลื่นไหล มีความเสถียรในการทำงานโดยใช้คนน้อยที่สุด
- ระบบสามารถซ่อมแซมและอัปเกรดได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อการทำงานน้อย
อนาคตของระบบอัตโนมัติ
ระบบอัตโนมัติ (Automation) อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้มากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ การผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างมากนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มผลผลิตเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้นด้วย
เมื่อเทคโนโลยี Automation มีความต้องการมากขึ้นในวงการอุตสาหกรรม การที่แรงงานในอุตสาหกรรมจะอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีได้น้ัน ต้องคำนึงถึง “การปรับตัว การเรียนรู้สิ่งใหม่” และการ “Upskill เพิ่มขีดความสามารถเฉพาะด้าน” ถึงแม้จะมีการเน้นย้ำเรื่องของการว่างงานเมื่อระบบอัตโนมัติเข้ามาแทนที่ แต่แท้จริงแล้วระบบอัตโนมัตินั้นสามารถสร้างตำแหน่งงานใหม่ อีกทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาทักษะและเปลี่ยนความรับผิดชอบของพนักงานที่สามารถจัดการหุ่นยนต์ในสายการผลิตได้ ภาคแรงงานจึงต้องพัฒนาทักษะของตนเองในด้านต่าง ๆ ให้เหนือความสามารถที่เทคโนโลยีทำได้ แบบนี้โอกาสของกำลังแรงงานในทุกสาขาอาชีพก็จะมีสูงขึ้น
(อ่านข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ Industry 4.0 พลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิตด้วยเทคโนโลยี )
แนะนำสำหรับผู้ที่สนใจอยากเสริมทักษะ ให้มีความรู้ด้านการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการวางระบบ ก้าวสู่ Smart Factory เราขอแนะนำหลักสูตร หลักสูตร Up-skill, Re-skill ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ตอบโจทย์การผลิตในสาขาต่าง ๆ ที่ตรงความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในยุค 4.0
สรุป
สำหรับการนำระบบ Automation มาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในโรงงานนั้น เป็นอีกโจทย์ที่เหล่าผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตต้องเตรียมตัวรับความเปลี่ยนแปลง ควรมีการวางแผนในการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้ เช่น การวางระบบ IoT หรือแม้แต่การวางแผนการพัฒนากำลังคนและขีดความสามารถของพนักงาน ให้สามารถใช้เทคโนโลยีให้เกิดการผลิตที่คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ เกิดเป็นนวัตกรรมสินค้าและบริการที่ทันสมัยต่อไปในอนาคต