แนวโน้ม 5 เทรนด์เทคโนโลยีการผลิตอุตสาหกรรม 2025

5 trend technology

ความกดดันของอุตสาหกรรมการผลิตทั่วโลกเริ่มมีมากขึ้น ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่เกิดการชะลอตัวจากโรคระบาด Covid-19 ที่ผ่านมาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัล ที่เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต

จากการวิจัยของ WNS และ Corinium Intelligence พบว่ากว่า 90 % ของ 8 ธุรกิจภาคอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มการเติบโตของเทคโนโลยีที่ล่าช้าสำหรับรับมือกับ COVID-19 ที่อาจก่อให้เกิดความสูญเสียทางธุรกิจได้ การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่กำลังเพิ่มมากขึ้นส่งผลดีต่อนวัตกรรมและการบูรณาการในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการผลิตได้ในอนาคต ในบทความนี้จะพูดถึงแนวโน้มที่เป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานในอุตสาหกรรมการผลิตจากทั่วโลกในปี 2025 และการคาดการณ์ 5 เทรนด์เทคโนโลยีการผลิตที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้

ทิศทางการทำงานในอุตสาหกรรม การผลิต จากทั่วโลกในปี 2025

ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าหลายอุตสาหกรรมกรมได้ปรับตัวเข้าสู่รูปแบบอัจริยะมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆเข้ามาปรับใช้ซึ่งหากเราเลือกใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจ ก็จะสามารถผลักดันให้เกิดนวัตกรรมและความสามารถในการแข่งขันได้ ซึ่ง A WNS Perspective คาดการณ์แนวโน้มที่เป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานในอุตสาหกรรม การผลิตจากทั่วโลกในปี 2025 ไว้ดังนี้  

  • อุตสาหกรรม การผลิต มองการณ์ไกลมากขึ้น (Foresight Factories)

อุตสาหกรรมภาคการผลิตจะเป็นผู้ริเริ่มใช้ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะ และภายในปี 2025 การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลจะผลักดันให้โรงงานอัจฉริยะพัฒนาทัศนคติและการมองการณ์ไกลเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านอุปสงค์อย่างมีนัยสำคัญ การบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance) จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดขึ้นจริง และทำความเข้าใจผลกระทบของการดำเนินการก่อนที่จะมีการดำเนินงานจริง ซึ่งจากการวิจัยตัวอย่างหนึ่งพบว่า ระดับการใช้ระบบอัตโนมัติโดยเฉลี่ยในโรงงานจะเพิ่มขึ้น 10 %จากร้อยละ 69 เป็นร้อยละ 79 ในอีก 10 ปี ข้างหน้าหรืออาจไวกว่านั้น แน่นอนว่าการนำระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้จะประสบความสำเร็จได้มากที่สุด เมื่อการเชื่อมต่อครอบคลุมทุกกระบวนการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น แบรนด์ยานยนต์ชั้นนำแห่งหนึ่งได้พัฒนาฝาแฝดดิจิทัล (Digital Twin) แบบเรียลไทม์เพื่อใช้ในกาารจำลองระบบการผลิตรถยนต์ในการปรับปรุงการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพในระหว่างการผลิตได้ช่วยให้องค์กรสามารถจำลองผลกระทบของสถานการณ์การผลิตเพื่อหาแนวทางแก้ไข หรือวางแผนการดำเนินการได้ง่ายขึ้น

  • การผลิตแบบ Decentralized Manufacturing

หลังเกิดสถานการณ์โรคระบาด Covid-19 อุตสาหกรรมการผลิตกำลังประเมินแบบจำลองทางเลือกเพื่อลดการหยุดชะงักของธุรกิจให้เหลือน้อยที่สุด ซึ่งแนวทางที่มีแนวโน้มในอุตสาหกรรมอีก 5 ปีข้างหน้าจะปรับเป็นการผลิตแบบกระจายศูนย์ ผู้ค้าปลีกชั้นนำรายหนึ่งได้พัฒนาแนวคิดการผลิตใหม่โดยอิงจากโรงงานขนาดเล็กที่สามารถเคลื่อนย้ายและจัดรูปแบบใหม่การผลิตได้อย่างง่ายดายที่มีทุกที่ทั่วโลก ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดในท้องถิ่นได้อย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ากำลังวางแผนที่จะสร้างชุดโรงงานขนาดเล็กที่สามารถตอบสนองการผลิตรถยนต์ได้ตรงความต้องการของตลาดมากที่สุด

การวิเคราะห์เชิงคาดการณ์และการรับรู้ความต้องการที่เพิ่มขึ้นจึงเป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของการผลิตแบบกระจายศูนย์ เนื่องจากองค์กรต่างๆ ใช้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลใหม่เพื่อทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบความต้องการและตอบสนองอย่างรวดเร็ว

  • hyper-local models คือการที่ผู้ผลิต สามารถเข้าใจและเข้าถึง (Brand Insight) วัฒนธรรม-ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อหรือค่านิยมของผู้คนในท้องถิ่น
  • สร้างเป้าหมายในการผลิต (Purposeful Production)

ภายในปี 2025 การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลจะช่วยให้ผู้ผลิตมีมุมมองแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับการดำเนินงานธุรกิจของตน ข้อมูลเชิงลึกใหม่จะได้รับจากจุดแข็งนี้ เนื่องจากผู้ผลิตใช้ประโยชน์จากข้อมูลเพื่อทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เมื่อระบบการจัดการข้อมูลหลัก (MDM) สร้างความจริงเวอร์ชั่นเดียวภายในองค์กรและการดำเนินการภายในเป็นมาตรฐาน ผู้ฃผลิตจะสามารถเข้าใจการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อเปลี่ยนอุตสาหกรรมไปสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น เช่น โอกาสในการปรับปรุงด้านพลังงานหรือวัสดุ จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเมื่อบริษัทต่างๆ ดำเนินงานอย่างมีจุดมุ่งหมาย

  • Master Data Management (MDM) systems คือ การรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่งมาเก็บไว้ในที่ ๆเดียว ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของข้อมูล ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างชุดข้อมูลที่เหมือนกันเกี่ยวกับลูกค้า ผลิตภัณฑ์ ซัพพลายเออร์ และหน่วยงานธุรกิจอื่น
  • การทำงานด้วย Metaverse  (Metaverse Monitoring)

“Metaverse” จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยจะเป็นตัวกำหนดการทำงานในอุตสาหกรรม ภายในการผลิต ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่การออกแบบสินค้า การจัดซื้อจัดหา การผลิต และการบริหารคงคลังสินค้า

การปรับใช้เครื่องมือที่ใช้ Metaverse จะช่วยให้พนักงานได้รับโอกาสใหม่ๆ สำหรับการฝึกอบรม การทดสอบ และการตรวจสอบชิ้นส่วนในการผลิต เริ่มมีการใช้ Metaverse อย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรมเพื่อให้องค์กรต่างๆ อย่างบริษัทในสหรัฐอเมริกาสามารถทดสอบซอฟต์แวร์การผลิตใหม่ในโลกเสมือนจริงได้ การใช้การจำลองเหล่านี้ ไม่เพียงแต่จะทดสอบซอฟต์แวร์เท่านั้น แต่ยังฝึกผู้ปฏิบัติงานหุ่นยนต์และลองบูรณาการทางกายภาพก่อนที่จะเสี่ยงต่อการใช้งานจริงได้อีกด้วย

  • Experience Hubs

ภายในปี 2568 การผลิตยุคใหม่จะก้าวหน้ามาก การผลิตจะกลายเป็นจุดสัมผัสที่สำคัญของผู้บริโภค ซึ่งเป็นจุดสร้างความแตกต่างให้กับแบรนด์ เช่น การจำลองผลิตภัณฑ์ต้นแบบด้วยการพิมพ์ 3D การเยี่ยมชมโรงงานอัจฉริยะผ่านเทคโนโลย Virtual Factory Tour เพื่อสัมผัสประสบการณ์โซลูชั่นการผลิตแบบครบวงจรด้วยตนเอง 

ที่มาข้อมูล : Top 5 Manufacturing Trends in 2025

จากข้อมูลที่ผู้เขียนได้กล่าวมา การหยุดชะงักที่เกิดจากโรคระบาดได้แสดงให้เห็นความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลภายในการผลิต เนื่องจากอุตสาหกรรมพยายามสร้างความยืดหยุ่นให้มากขึ้น บริษัทต่างๆ ต้องเตรียมพร้อมสำหรับปี 2025

โดยการพัฒนาความสามารถในการคาดการณ์ผ่านระบบดิจิทัล สำรวจแนวคิดแบบไฮเปอร์โลคอล (Hyper Local) ขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างมีจุดประสงค์ เปิดรับเมตาเวิร์ส และสร้างประสบการณ์ด้านการผลิตให้ก้าวทันเทคโนโลยีมากขึ้น

คาดการณ์ 5 เทรนด์เทคโนโลยีการผลิตในปี 2023

โลกแห่งปัญหาประดิษฐ์ (AI) และการวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced Analytics)

เทคโนโลยี AI ในอุตสาหกรรมการผลิตจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการควบคุมคุณภาพ ด้วยการที่ AI สามารถตรวจสอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ในการผลิตชิ้นส่วนทั้งหมด เพื่อให้ตรงตามคุณภาพที่ถูกกำหนดไว้ และการใช้เทคโนโลยี AI จะช่วยให้การตรวจสอบชิ้นส่วนที่ผลิตทั้งหมด เพื่อลดโอกาสการเกิดข้อบกพร่อง นอกจากนี้การนำ AI IIoT Edge Computing หรือ Cloud Computing มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้เป็นอย่างมาก ซึ่งการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจความต้องการของตลาดโดยใช้แบบจำลองการคาดการณ์ จึงกลายเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตต้องปรับตัวในอนาคต

เทคโนโลยีการเชื่อมต่อทรงประสิทธิภาพ 5G

การเชื่อมต่อ 5G หรือระบบ IoT จะครอบคลุมมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรม  โดย PwC ได้ประเมินผลของการใช้เทคโนโลยี 5G ต่อเศรษฐกิจโลก พบว่า การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี 5G ของภาคธุรกิจทั่วโลกที่มีแนวโน้มแพร่หลายมากขึ้นในอนาคตอันใกล้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจในระยะยาว อีกทั้งช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจทั่วโลก โดยการใช้งาน 5G ในภาคการผลิต จะสร้างมูลค่าเพิ่มกับระบบเศรษฐกิจทั่วโลกในปี 2030 ได้สูงถึง 1.30 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และลดต้นทุนจากสินค้าที่มีความบกพร่องได้ถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : บทความเรื่อง “เทคโนโลยี 5G ความท้าทายของการใช้งานในภาคการผลิต” เผยแพร่ในเว็บไซต์ SCB EIC

เทคโนโลยีหุ่นยนต์ขั้นสูง (Advanced robotics)

การใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิต มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยจุดประสงค์ของผู้ผลิตคือการเพิ่มประสิทธิภาพความแม่นยำและความรวดเร็วในการผลิต จึงมีการพัฒนาหุ่นยนต์ที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้มากยิ่งขึ้น โดยลดการใช้แรงงานมนุษย์ให้น้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติการ (Cobot) หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติ (AMR) และยานยนต์นำทางอัตโนมัติ (AGV) ซึ่งหุ่นยนต์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำงานร่วมกับมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนกระตุ้นให้ผู้ผลิตได้สร้างสรรค์การทำงานเพื่อการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งเป็นที่น่าจับตามองว่าในปี 2565 เทคโนโลยีของหหุ่นยนต์เหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมในการทำงานแบบ Remote Working

  • Remote Work คือ การทำงานภายใต้คอนเซ็ปต์ทำงานที่ไหนก็ได้ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากภายในสำนักงาน สู่การทำงานนอกสถานที่ โดยเน้นการวัดผลเชิงประสิทธิภาพต่อชิ้นงาน

เทคโนโลยีระบุตัวตน (Biometric technology)

เทคโนโลยีการระบุตัวตน ใช้เทคนิคการแปลค่าอัตลักษณ์เฉพาะบุคคล (Personal identity) โดยนำลักษณะทางชีวภาพมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบความแตกต่าง ทำให้เกิดความปลอดภัย และสะดวกรวดเร็วมากขึ้นเพื่อสร้างระบบความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งาน ทำให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และสะดวกยิ่งขึ้นกว่าเดิม ล่าสุดมีรายงานเผยออกมาว่าบริษัทกว่า 72 % กำลังวางแผนที่จะยกเลิกรหัสผ่านแบบเดิมภายในปี 2025 ซึ่งจะก่อให้เกิดการใช้รูปแบบการยืนยันตัวตนแบบใหม่อย่างใบหน้า เสียง ตา มือ และลายเซ็น

การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation)

การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล ในปัจจุบันเป็นการเปลี่ยนระบบการใช้งานแบบเดิมให้มีความทันสมัยมากขึ้น ไปจนถึงการดัดแปลงอุปกรณ์รุ่นเก่ารวมไปถึงการนำระบบเซนเซอร์เข้ามาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น

  • เทคโนโลยี Virtual Reality (VR) / Augmented Reality(AR) 

Augmented Reality (AR) : เทคโนโลยีที่นำวัตถุ 3 มิติ มาจำลองเข้าสู่โลกจริงของเรา มีหลักการทำงานคือการใช้ Sensor ในการตรวจจับภาพ, เสียง, การสัมผัสต่าง ๆ แล้วสร้างภาพ 3 มิติขึ้นมาผ่านระบบ Software ซึ่งผู้ใช้งานต้องอาศัยการมองผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่แสดงภาพได้ ไม่ว่าจะเป็น แว่นตา, จอภาพ หรือคอนแทคเลนส์ ที่เป็น Hardware

Virtual Reality (VR) : เทคโนโลยีการจำลองโลกเสมือนที่แยกจากความเป็นจริง โดยผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับสถานที่ หรือสิ่งแวดล้อมที่จำลองมาได้ผ่านอุปกรณ์เช่น แป้นพิมพ์, เม้าส์ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ

  • ฝาแฝดเสมือน (Virtual Twin) สำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่ควรจับตามอง เช่นเดียวกับการนำมาใช้ปฏิบัติงานในโรงงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถนำมาใช้ได้ในทุกระดับ ตั้งแต่เพิ่มการมองเห็นแบบเรียลไทม์และบรรลุประสิทธิภาพสูงสุดและการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการใช้ IoT, IIoT, การวิเคราะห์ข้อมูล, AI และ Virtual Twin นั้น จำเป็นต้องใช้เซนเซอร์ในการตรวจจับและตรวจสอบสภาพแวดล้อม ชิ้นส่วน เครื่องจักร ระบบ เป็นต้น ซึ่งต้องมีเครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับแสดงข้อมูลที่บันทึกโดยเซนเซอร์หลากหลายเช่นเดียวกันกับใช้แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจที่ดียิ่งขึ้นด้วยการดูข้อมูลแบบเรียลไทม์ การแสดงข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมการวิเคราะห์ข้อมูล จึงเป็นกุญแจสำคัญในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจะมีผู้ผลิตจำนวนมากหันมาลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลในปีนี้ ขณะที่ผู้ผลิตจำนวนมากมองว่าการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลจะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และเห็นด้วยกับการก้าวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ โดยไม่มีใครสามารถหลีกหนีการเปลี่ยนแปลงนี้ได้

สรุป

เทคโนโลยีได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง การประยุกต์ใช้ระบบไซเบอร์-กายภาพ (Cyber-Physical Systems : CPS) และ IIoT สามารถสร้างข้อได้เปรียบของธุรกิจได้ จึงเป็นความท้าทายที่หลายองค์กรจะก้าวให้ทัน จริงๆแล้ว ไม่ใช่ทุกเทคโนโลยีที่สามารถส่งผลเปลี่ยนแปลงในสังคม และแวดวงธุรกิจได้ แต่อย่างที่ทุกคนได้อ่านมา บางสิ่งมันค่อนข้างจะอิมแพค สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เพื่อสร้างผลประโยชน์ให้แก่องค์กรสูงสุด ซึ่งในอนาคตการผลิต ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลจะนำไปสู่การเลือกโรงงานอัจฉริยะ เครื่องจักรและอุปกรณ์สามารถปรับปรุงกระบวนการผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยตนเองและระบบอัตโนมัติ ประโยชน์ของโรงงานอัจฉริยะจะขยายขอบเขตนอกเหนือจากการผลิตไปยังฟังก์ชันอื่นๆ เช่น ลอจิสติกส์ซัพพลายเชน การวางแผน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์

การเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตของการผลิต ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่กล่าวมาในบทความนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของการก้าวสู่เทคโนโลยีที่น่าจับตามองอย่าง “Metaverse” อุตสาหกรรมการผลิต และองค์กรต่าง ๆ ควรติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเหล่านี้และพิจารณากรณีการใช้งานที่เหมาะสมเพื่อให้ได้มาซึ่งผลตอบแทนที่ดีที่สุด จากการเปลี่ยนแปลงเพื่อเข้าสู่ยุค 5.0 อันใกล้นี้

E-book เตรียมความพร้อม

ก่อนทำ Automation และ IoT

ไขข้อควรรู้ !

ก่อนทำ Automation และ IoT

เพื่อให้โรงงานของคุณ ได้รับ

ระบบอัตโนมัติที่ดี และเหมาะสมที่สุด

 

Scroll to Top