ภาวะในปัจจุบัน สภาพแวดล้อม สภาพสังคม ที่เกิดขึ้นล้วนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นับเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ความเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม หรือภัยแล้ง ที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ที่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกๆ ปี ทำให้เกิดความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก
Carbon footprint (คาร์บอนฟุตพริ้นท์)แสดงถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด (Greenhouse Gas) ที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมของมนุษย์ในแต่ละวัน การทราบปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นตันของการปล่อย CO2 เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินมาตรการป้องกันและควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร และกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลกระทบเพื่อลดการปล่อยก๊าซให้อยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทุกอย่างเริ่มต้นจากกิจกรรมที่มุนษย์ทำ ในบทความนี้จะพาทุกคนไปทำความรู้จัก Carbon footprint ในองค์กันให้มากขึ้นค่ะ
Carbon Footprint คืออะไร ?
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ ( Carbon Footprint ) หรือเรียกว่ารอยเท้าคาร์บอน คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการตลอดวัฏจักรชีวิต ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางด้วยรถยนต์ ชาร์จโทรศัพท์ กิจกรรมอื่นๆ อีกหลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมเหล่านี้ทิ้งร่องรอยของก๊าชที่สะสมในชั้นบรรยากาศซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน การใช้ Carbon Footprint เป็นตัวบ่งชี้ในการวัดการปล่อยสารประกอบทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะถูกคำนวณออกมาในแบบของก๊าชที่มีปริมาณมากที่สุดคือคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
Carbon Footprint จึงเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการประเมินปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยจากกิจกรรมต่างๆ ว่ามีก๊าชออกมาเท่าไร ซึ่งทำให้องค์กรต่างๆ หันมาสนใจในเรื่องนี้และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้มีการติดป้าย Carbon Footprint ในผลิตภัณฑ์นั้นๆ เป็นการบ่งบอกให้ลูกค้าได้รู้ว่าผลิตภัณฑ์นี้มีปริมาณการปล่อยก๊าชมากน้อยขนาดไหน และไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการช่วยทำให้ผู้ซื้อตัดสินใจในการซื้อของที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
Carbon Footprint สามารถแบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง
Carbon Footprint แบ่งออกได้ 2 ประเภทได้แก่
Carbon Footprint ส่วนองค์กร
CarbonFootprint for Organization (CFO) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมขององค์กรในระหว่างการผลิต การขนส่ง และการใช้พลังงานทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การใช้สารเคมี การเผาไหม้ การใช้พลังงานไฟฟ้า และการกำจัดของเสีย โดยองค์กรสามารถเลือกที่จะลดหรือชดเชย Carbon Footprint ในหลายทางเลือก เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การใช้พลังงานทดแทน 100% การรณรงค์ การลงทุนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อม โดยในการประเมินจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่
- ส่วนที่1 การคำนวณ CFO จากกิจกรรมขององค์กรทางตรง เช่น การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงของเครื่องจักร การใช้ยานพาหนะขององค์กร
- ส่วนที่2 การคำนวณ CFO จากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) คือการใช้พลังงานในองค์กร เช่น พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน
- ส่วนที่3 การคำนวณ CFO กิจกรรมขององค์กรทางอ้อม เช่น การเดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ และการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ
Carbon Footprint ส่วนผลิตภัณฑ์
Carbon Footprint of Product (CFP) คือ การประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาของผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการอุปโภคบริโภคทั้งก่อน ระหว่าง และหลังอายุการใช้งานมลภาวะจึงเริ่มต้นจากการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การแปรรูป การผลิต และการจำหน่าย ไปจนถึงการใช้และแปรสภาพเป็นของเสียซึ่งสามารถนำมาใช้ซ้ำ รีไซเคิล หรือนำไปฝังกลบได้ Carbon Footprint ของกิจกรรมต่างๆ เช่น คอนเสิร์ต การแสดง หรือการแข่งขันกีฬา และอื่นๆ ก็มีความสำคัญเช่นกันเนื่องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การขนส่ง การใช้พลังงาน ของเสียที่เกิดขึ้น
ซึ่งผู้บริโภคต้องมีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อ และเครื่องหมาย Carbon Footprint ที่จะติดบนผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้บริโภครู้ว่า ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่มากน้อยขนาดไหน ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจชื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น การใช้ Carbon Footprint ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันตลาดโลกทั้งในและต่างประเทศด้วย
4 ประโยชน์ของ Carbon Footprin สำหรับองค์กร
การปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ช่วยให้องค์กรต่างๆ สามารถประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และพัฒนากลยุทธ์ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนการระบุพื้นที่ที่มีผลกระทบและดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิผลเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน องค์กรต่างๆ ไม่เพียงแต่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพด้านสิ่งแวดล้อมของตนเท่านั้น แต่ยังช่วยประหยัดต้นทุน เพิ่มชื่อเสียงของแบรนด์ และเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันอีกด้วย ในบทความนี้ เราจะเจาะลึกถึงประโยชน์ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และวิธีที่จะช่วยให้องค์กรต่างๆ สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อผู้คนและโลกได้
- ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
การลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขององค์กรช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง เนื่องจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม การลด Carbon Footprin ขององค์กรจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ จึงทำให้อัตราภาวะโลกร้อนลดลง การระบุจุดสำคัญเหล่านี้สามารถช่วยให้องค์กรต่างๆ กำหนดเป้าหมายและจัดลำดับความสำคัญของความพยายามในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ จุดที่เกิดคาร์บอนที่ได้พบบ่อย เช่น การใช้พลังงาน การขนส่ง ห่วงโซ่อุปทาน และการกำจัดของเสีย
- สร้างภาพลักษณ์
การวัดและการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขององค์กรแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืนและสามารถปรับปรุงภาพลักษณ์ขององค์กร ต่อ ลูกค้า นักลงทุน และพนักงานได้ ในขณะที่ผู้บริโภคตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น บริษัทต่างๆ ก็มีความคาดหวังเพิ่มมากขึ้นในการแสดงความมุ่งมั่นต่อความยั่งยืน ด้วยการวัดและรายงานการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ องค์กรต่างๆ สามารถสื่อสารความพยายามด้านสิ่งแวดล้อมของตนอย่างโปร่งใสไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และยกระดับตนเองให้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของตนได้
- การตั้งเป้าหมาย
การวัดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขององค์กรช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพและแม่นยำเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิผล เป้าหมายนั้นจะต้องสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศล่าสุดและเป้าหมายระดับโลกในการจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5° c เป้าหมายบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Science-based Targets: SBT) เป็นวัตถุประสงค์เฉพาะตั้งขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สามารถวัดผลได้ ช่วยให้บริษัทต่างๆ มีแนวทางที่ชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับเป้าหมายระดับโลก
- โอกาสในการลดต้นทุน
การปล่อยก๊าซคาร์บอนในองค์กรของคุณสามารถช่วยในการระบุพื้นที่ที่สามารถลดการใช้พลังงานและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ซึ่งในทางกลับกันสามารถนำไปสู่การประหยัดต้นทุนโดยการลดปริมาณพลังงานและทรัพยากรที่ใช้ เช่น การเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟแอลอีดี หรืออุปกรณ์ประหยัดพลังงานสามารถลดค่าไฟ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งโดยการส่งเสริมการใช้รถร่วมหรือใช้ยานพาหนะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
สรุป
การลด Carbon Footprint ไม่ใช่แค่หน้าที่ขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง แต่เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคน เริ่มต้นลงมือทำตั้งแต่วันนี้คนละไม้คนละมือ ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้ง่ายๆ
ที่มาข้อมูล : Carbon footprint , Benefits of Carbon Footprinting Your Organisation